วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทที่3:อาหาร

 - สารประกอบอินทรีย์มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่สร้างพันธะโคเวนเลนต์กับธาตุไฮโดรเจน หรือกับธาตุคาร์บอนด้วยกันเอง และยังอาจมีธาตุชนิดอื่นเป็นองค์ประกอบร่วมด้วย

- สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น

- สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยพันธะเดี่ยวทั้งหมด ส่วนสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวมีพันธะเดี่ยวทั้งหมดส่วนสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หรือพันธะสามอย่างน้อย 1 พันธะ

- พอลิเมอร์เป็นสารที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ประกอบด้วยมอนอเมอร์จำนวนมากเชื่อมต่อกัน

- สารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) แสดงสมบัติความเป็นกรดสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่แอนิโน (-NH2),-NH-,-N-) แสดงสมบัติความเป็นเบส

- หลักการ like dissolves like ใช้อธิบายการละลายของสาร โดยที่เป็นตัวละลายจะละลายได้ในตัวละลายที่มีขั้วใกล้เคียงกัน เนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลประเภทเดียวกัน

- พอลิเมอร์เทอร์มอพลาสติกเป็นพอลิเมอร์ที่เมื่อได้รับความร้อนจะเกิดการหลอมเหลวและเเข็งตัวเมื่อเย็นลง ส่วนพอลิเมอร์เทอร์มอเซตเป็นพอลิเมอร์ที่ไม่หลอมเหลว เเต่จะเกิดการสลายตัวหรือไหม้เมื่อได้รับความร้อนสูง

บทที่2:น้ำ

 - พันธะโคเวเลนต์เป็นการยึดเหนี่ยวกันระหว่างคู่อะตอมโดยใช้เวเลนซ์อิเล้กตรอนร่วมกัน ส่วนใหญ่เกิดขี้นระหว่างคู่อะตอมของธาตุอโลหะ

- พันธะโคเวเลนต์มี 3 ชนิด คือ พันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม

- จุดหลอมเหลวเเละจุดเดือดของสารโคเวเลนต์มีความสัมพันธ์กับเเรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลซึ่งเป็นผลมาจากสภาพขั้วของสาร สารที่มีมวลและรูปร่างโมเลกุลใกล้เคียงกันสารมีขั้วจะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงกว่าสารไม่มีขั่ว

- พันธะไฮโดรเจนเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลที่เกิดกับสารมีขั้วที่มีพันธะ O-H ,N-H ,หรือF-H ในโมเลกุล ทำให้สารมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงกว่ามีขั้วที่มีโมเลกุล

- สารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนบวกที่ยึดเหนี่ยวกับไอออนลบด้วยพันธะไอออนิก โดยไอออนบวกและไอออนลบจัดเรียงตัวสลับกันต่อเนื่องไปใน 3 มิติ ในอัตราส่วนที่ทำให้สารประกอบไอออนิกเป็นกลางทางไฟฟ้า

- สูตรของสารประกอบไอออนิกเขียนเเสดงด้วยสูตรเอมพิริคัล ซึ่งแสดงอัตราส่วนอย่างต่ำของไอออนที่เป็นองค์ประกอบ

- จุดหลอมเลวของสารประกอบไอออนิกสูงกว่าสารโคเวเลนต์มาก เนื่องจากต้องใช้พลังงานในการทำลายพันธะไอออนิกซึ่งมีความเเข็งแรงมากกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของสารโคเวเลนต์

- การละลายน้ำมี2แบบ คือ การละลายแบบเเตกตัว และการละลายแบบไม่แตกตัว

- การละลายแบบแตกตัวเกิดขึ้นกับสารประกอบไอออนิกที่สามารถละลายน้ำได้ หรือ สารโคเวเลนต์ที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวทำให้สารละลายมีสมบัติเป็นกรดเหรือเบส และสารละลายที่ได้เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์

- การละลายแบบไม่แตกตัวเกิดขึ้นกับสารโคเวเลนต์ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก หรือสารโคเวเลนต์บางชนิดที่สามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนกับน้ำได้ และสารละลายที่ได้เป็นยสารละลายนอนอิเล็กโทรไลต์

บทที่1:อากาศ

- สารประกอบด้วยธาตุเพียงชนิดเดียวจัดเป็นธาตุ ส่วนสารที่ประกอบด้วยธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดจัดเป็นสารประกอบ

- ธาตุมีทั้งที่อยู่ในรูปของอะตอม และโมเลกุล

- อะตอมประกอบด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน โดยมีจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน และเป็นกลางไฟฟ้า

- ไอออนมีประจุไฟฟ้า และมีจำนวนโปรตอนและนิวตรอนไม่เท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน

- แบบจำลองอะตอมของโบว์แสดงโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียส และอิเล็กตรอนเคลื่อนที่เป็นเป็นวงรอบนิวเคลียส

- สัญลักษณ์นิวเคลียสแสดงชนิดของธาตุ เลขอะตอม และ เลขมวล

- เลขอะตอมเท่ากับจำนวนโปรตอน ส่วนเลขมวลเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอน

- ไอโซโทปเป็นธาตุชนิดเดียวกันที่มีเลขมวลต่างกัน

- ตารางธาตุจัดเรียงธาตุตามเลขอะตอม โดยให้ธาตุที่มีคุรสมบัติคล้ายคลึงกันอยู่ในหมู่เดียวกัน

- ธาตุในตารางธาตุจัดกลุ่มเป็นกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟและกลุ่มธาตุแทรนซิซัน หรือแบ่งเป็นธาตุโลหะ กึ่งโลหะ และอโลหะ

- ธาตุแต่ละชนิดมีสมบัติเฉพาะ จึงนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน

บทที่3:อาหาร

 - สารประกอบอินทรีย์มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่สร้างพันธะโคเวนเลนต์กับธาตุไฮโดรเจน หรือกับธาตุคาร์บอนด้วยกันเอง และยังอาจมีธาตุ...